การเผาพลอย
การเผาพลอยหรือการหุงพลอย คือ การทำให้พลอยมีสีสันสวยงามยิ่งขึ้น โดยการนำพลอยมาให้ความร้อนในช่วงอุณหภูมิและภาวะที่เหมาะสม จนธาตุต่างๆในเนื้อพลอยใสขึ้นและมีสีเปลี่ยนไปถาวร เช่น
ชนิดของพลอย | สีเดิมตามธรรมชาติ | สีที่เปลี่ยนแปลงหลังการให้ความร้อน |
-ทับทิม -แซปไฟร์สีน้ำเงิน(ไพลิน) -แซปไฟร์สีขาว -เพทาย -โทแปซ -ควอตซ์ (แอเมทิสต์) | แดงอมม่วง แดงอมน้ำตาล ชมพูอมม่วง น้ำเงิน ขาวใส ขาวขุ่นน้ำนม หรือขาวอมเหลือง น้ำตาล สีชา ขาวใส ม่วง | แดงสดหรือชมพูสด น้ำเงินเข้มขึ้นหรือน้ำเงินสว่างขึ้น น้ำเงิน เขียว เหลือง หรือเหลืองน้ำทอง ใสไม่มีสี เหลืองน้ำทอง น้ำเงิน น้ำเงิน (ก่อนเผาจะอาบรังสีนิวตรอนให้ได้สีเหลือง น้ำตาล หรือเขียว) ใสไม่มีสี เหลืองน้ำทอง เขียว |
การย้อมเคลือบสี คือการเผาพลอยรวมกับสารเคมีบางชนิด ทำให้พลอยมีสีสันสวยงามขึ้น สารเคมีที่ใช้จะมีส่วนผสมของธาตุมลทินที่ทำให้พลอยชนิดนั้นเกิดสีตามธรรมชาติ แต่จะแตกต่างกับการเผาพลอยตรงที่ สีที่เกิดขึ้นสามารถอยู่ได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น
การอาบรังสี คือการนำพลอยไปอาบรังสีแกมมาจากโคบอลต์-60 ทำให้สีเปลี่ยนแปลง
ปัจจุบันมีการนิยมทำเพชรเทียมกันมากขึ้นเนื่องจากเพชรธรรมชาติหายากและมีราคาแพง โดยเพชรเทียมที่ได้รับความนิยาสูงสุดคือ เพชรรัสเซีย หรือคิวบิกเซอร์โคเนีย เพชรเทียมมีการกระจายแสงสูงกว่าเพชรธรรมชาติจึงทำให้เป็นประกายแวววาว และมีความถ่วงจำเพาะสูงกว่าเพชรธรรมชาติมาก
ในการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มีการนำแผ่นฟิล์มเพชรบางๆซึ่งได้จากการทำเพชรสังเคราะห์ โดยการเผาแก๊สมีเทนหรืออะเซติลีนสลายพันธะได้อะตอมของคาร์บอนเกาะติดบนแผ่นฟิล์มซิลิคอน เป็นแผ่นเพชรช่วยถ่ายเทความร้อนออกจากวงจรอิเล็กทรอนิกส์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น