นอกจากนี้อาจจำแนกแร่ตามโยชน์ทางเศรษฐกิจได้ดังนี้
แร่ประกอบหิน หมายถึง แร่ที่เป็นส่วนประกอบของหิน เช่น หินแกรนิตประกอบด้วยแร่ควอตซ์ แร่เฟลด์สปาร์และแร่ไมกา หินปูนประกอบด้วยแร่แคลไซต์ซึ่งจะกระจายแทรกตัวอยู่ในเนื้อหินและแยกออกมาใช้ประโยชน์ได้ยาก จึงต้องนำหินเหล่านั้นมาใช้โดยตรง เช่น นำมาใช้ในกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ อุตสาหกรรมก่อสร้าง นำหินแกรนิตหรือหินอ่อนในรูปของแผ่นหินมาใช้สำหรับปูพื้นหรือการก่อสร้าง
ตาราง 1.2 ตัวอย่างกลุ่มแร่เศรษฐกิจ
กลุ่มแร่ | ตัวอย่างแร่ |
แร่โลหะพื้นฐาน แร่หนักและแร่หายาก แร่โลหะมีค่า แร่ในอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า แร่วัตถุดิบในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ แร่ที่ใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง แร่รัตนชาติ แร่ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง | แร่ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี พลวง ดีบุก ทังสเตน แร่เทนทาไลต์โคลัมไบต์ เซอร์คอน อิลเมไนต์ โมนาไซต์ ทองคำ ทองคำขาว เงิน แร่เหล็ก แมงกานีส นิกเกิล โครไมต์ โมลิบไนต์ ยิปซัม หินปูน หินดินดาน ดินมาร์ลหรือดินสอพอง หินอ่อน หินแกรนิต หินทราย หินกาบหรือหินชนวน เพชร คอรันดัม มรกต บุษราคัม โกเมน ถ่านหิน หินน้ำมัน น้ำมันดิบ แก๊สธรรมชาติ |
แร่เศรษฐกิจ หมายถึง แร่ที่มีค่าทางเศรษฐกิจและมีปริมาณมากพอที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรม โดยอาจแบ่งเป็นกลุ่มได้ตามตาราง หรืออาจแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ แร่โลหะและแร่อโลหะ ตัวอย่างแร่เศรษฐกิจที่สำคัญของไทย เช่น หินปูน ยิปซัม สังกะสี เหล็ก ดีบุก ตะกั่ว หินอ่อน ทรายแก้ว เฟลด์มปาร์ ดินขาว ฟลูออไรต์ โพแทซและรัตนชาติ รวมทั้งแร่อโลหะที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง เช่น ถ่านหิน หินน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ โดยประเทศไทยผลิตแร่ได้มากกว่า 40 ชนิด ทั้งการผลิตเพื่อส่งออกและเพื่อรองรับอุตสาหกรรมภายในประเทศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น