- โซเดียมคลอไรด์ใช้ประโยชน์ใน
- อุตสาหกรรมเคมี
- อุตสาหกรรมอาหาร
- การบริโภคในครัวเรือน
วิธีการผลิตโซเดียมคลอไรด์
1. การผลิตเกลือสมุทรจากน้ำทะเล
E เริ่มทำช่วงเดือน พฤศจิกายน – พฤษภาคม เรียก ฤดูทำนาเกลือ
E วิธีการผลิต
1 .ระบายน้ำทะเลเข้าสู่วังขังน้ำเพื่อให้โคลนตมตกตะกอน
2. ระบายน้ำทะเลเข้าสู่นาตากและนาเชื้อ ที่จัดระดับพื้นที่นาให้ลดหลั่นลงมาเพื่อสะดวกในการขังและระบายน้ำ
3. เมื่อน้ำโดนความร้อนและลมจะระเหย จนเมื่อน้ำทะเลเหลือความถ่วงจำเพาะ 1.2 ให้ระบายสู่นาปลง
4. – NaCl จะตกผลึกและมีปริมาณเพิ่มขึ้น
- น้ำทะเลที่เหลือจะมีความเข้มข้นของ Mg2+, Cl-, SO42- เพิ่ม ต้องระบายน้ำจากนาเชื้อเข้าไปเพื่อป้องกันไม่ให้ MgCl2 MgSO4 ตกผลึกปนกับ NaCl
E ผลผลิตที่ได้
- ได้ผลผลิต 2.5 – 6 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร
- ได้กุ้ง หอย ปู ปลาที่ติดมากับน้ำทะเล
- CaSO4 ในนาเชื้อ
2. การผลิตเกลือสินเธาว์
E วัตถุดิบ
- แหล่งเกลือบนผิวดิน
- น้ำเกลือบาดาล
- แร่เกลือหิน หรือ แร่เฮไลต์ (พบมากแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
E วิธีการผลิต
วิธีที่ 1
- เทคโนโลยีแบบชาวบ้าน
- การผลิต
1. อัดอากาศลงไปตามท่อ เพื่อดันน้ำเกลือที่ละลายอยู่เหนือชั้นเกลือ/ ชั้นโดมเกลือขึ้นมา
2. นำน้ำเกลือที่ได้ไปตากในนาเกลือ หรือต้มให้เกลือตกตะกอน
- ผลกระทบ
- เกิดการยุบตัวของดินและน้ำในแหล่งน้ำ รั่วหายไปในโพรงเกลือ
- เกิดการปนเปื้อนของเกลือบนพื้นดินและแหล่งน้ำ
การผลิตเกลือสินเธาาว์
ในประเทศไทยมีการผลิตเกลือสินเธาว์ 3 วิธี ดังนี้
วิธีที่ 1
ใช้เทคโนโลยีแบบชาวบ้าน โดยการอัดอากาศลงไปตามท่อ เพื่อดันน้ำเกลือที่ละลายอยู่ชั้นเกลือหรือชั้นโดมเกลือขึ้นมา แล้วนำเกลือที่ได้ไปตากในนาเกลือหรือต้มให้ตกตะกอน วิธีนี้ก่อให้เกิดปัญหาที่สำคัญคือ ทำให้เกิดการยุบตัวของดินและน้ำในแหล่งน้ำรั่วหายไปในโพรงเกลือ ตลอดจนทำให้เกิดการปนเปื้อนของเกลือบนพื้นดินและแหล่งน้ำ
วิธีที่ 2
เป็นการทำแบบเหมืองละลายแร่ โดยอัดน้ำลงไปละลายเกลือแล้วสูบขึ้นมา แล้วนำไปตากในนาเกลือหรือนำไปต้มด้วยวิธีลดความดัน การสูบสารละลายเกลือทำให้เกิดปัญหาแผ่นดินทรุด ดังนั้นต้องทำเหมืองละลายเกลือลึกจากผิวดินประมาณ 200 เมตร และนำเกลือออกมาจากพื้นที่ได้ประมาณร้อยละ 10-15 เท่านั้น เมื่อสูบน้ำเกลือออกมาแล้วต้องมีการอัดน้ำขมกลับลงไปในชั้นน้ำเกลือใต้ดิน เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และมีการตรวจวัดรูปร่างของบ่อเกลือเป็นระยะ
วิธีที่ 3
เป็นการทำเหมืองใต้ดิน โดยขุดอุโมงค์ในแนวนอนลงไปในชั้นเกลือแล้วทำการเจาะหรือระเบิดน้ำเกลือขึ้นมา จากนั้นนำน้ำขมใส่กลับไปไว้ในอุโมงค์เช่นเดิม
น้ำเกลือที่ได้นำมาผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์ จากนั้นนำน้ำเกลือบริสุทธิ์ไปต้มเคี่ยวจนได้ผลึกเกลือ แล้วนำไปอบแห้งและบรรจุถุง
ในเกลือสินเธาว์จะมีปริมาณไอโอดีนน้อย ดังนั้นถ้าจะนำมาบริโภคควรเติม
ไอโอไดด์หรือไอโอเดตลงไป เรียกว่าเกลืออนามัยหรือเกลือไอโอเดต
สรุป เรื่องการผลิตโซเดียมไฮดรอกไซด์และแก๊สคลอรีน
การผลิตโซเดียมไฮดรอกไซด์และแก๊สคลอรีน อาจได้จากโซเดียมคลอไรด์ โดยอาศัยหลักการของเซลล์อิเล็กโทรไลต์
หลังจากการทดลองแยกสารละลายด้วยกระแสไฟฟ้า โดยใช้สารละลาย NaCl อิ่มตัว เป็นสารละลายอิเล็กโทรไลต์ แตกตัวได้ดังนี้ :
เมื่อผ่านกระแสไฟฟ้าลงไป จะเกิดปฏิกิริยา ดังนี้
โดยแก็สคลอรีนทดสอบด้วยกระดาษลิตมัสสีแดง และสีน้ำเงินชื้น จะเปลี่ยนเป็นสีขาว เพราะ Cl2 (g) ทำปฏิกิริยากับ H2O ได้ HCl , HClO ซึ่งฟอกจางสี
โดยแก็สไฮโดรเจนใช้ก้านธูปที่มีเปลวไฟไปจ่อที่ขั้วลบของแบตเตอรี่ ไฟจะดับพร้อมเกิดเสียงดังเป๊าะ และ OH- (aq) จะมีสมบัติเป็นเบส จึงทดสอบได้เมื่อหยดสารละลายฟีนอฟทาลีน ในสารละลายจะสังเกตเห็นสีชมพูบริเวณขั้วลบของแบตเตอรี่ แสดงว่ามี OH- (aq) เกิดขึ้นนั่นเอง
ปฏิกิริยารวม :
สารละลายที่เหลือจากการแยกสารละลายด้วยกระแสไฟฟ้าจะมีโซเดียมไฮดรอกไซด์ NaOH จาก
ดังนั้น เมื่อนำสารละลายไประเหยจะพบโซเดียมไฮดรอกไซด์ ซึ่งเป็นสารสีขาวเหลืออยู่
ในการผลิต NaOH ในอุตสาหกรรมนั้น จะใช้อุปกรณ์ที่ซับซ้อน โดยผ่าน NaCl (aq) อิ่มตัว เข้าไปในเซลล์อิเล็กโทรไลต์ตลอดเวลา H2 (g) , Cl2 (g) และ NaOH (aq) ที่เกิดขึ้นจะต้องแยกออกจากกัน เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสาร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น