วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ตัวอย่างวิดีโอจริง

ตัวอย่างวีดีโอจริง คำเตือน สารเคมีเหล่านี้มีอันตรายควรระวัง อย่าทดลองเองโดยไม่มีผู้เชี่ยวชาญ












วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ปุ๋ยโพแทส

4.4 ปุ๋ยโพแทส
ปุ๋ยโพแทสคือปุ๋ยเคมีที่มีธาตุโพแทสเซียมเป็นองค์ประกอบ ปุ๋ยชนิดนี้นิยมบอกความเข้มข้น เป็นค่าร้อยละโดยมวลของ K 2O ปุ๋ยโพแทสเซียมชนิดต่างๆนั้นพอจะกล่าวโดยสังเขปได้ดังนี้คือ     โพแทสเซียมคลอไรด์  (KCl)ปุ๋ยที่บริสุทธิ์ 95% นั้นจะมีโพแทสเซียมที่อยู่ในรูป K2O เท่ากับ 60% ผลิตมาจากสินแร่โพแทสเซียม เช่น sylvinite  เป็นต้น และมีชื่อได้อีกว่า muriate of potash

ในสมัยก่อน แหล่งของปุ๋ยโพแทสได้จากขี้เถ้าจากเตาถ่าน หรือจากการเผากิ่งไม้ ใบไม้และเศษเหลือของพืช
ประเทศไทยมีแหล่งแร่โพแทสเป็นจำนวนมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในรูปของแร่คาร์นัลไลต์   ( KCl.MgCl 2.6H 2O ) และแร่ซิลวาไนต์ ( KCl.NaCl) ซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตปุ๋ยโพแทสชนิดต่างๆ เช่น โพแทสเซียมคลอไรด์ ( KCl) โพแทสเซียมซัลเฟต ( K 2SO 4) โพแทสเซียมไนเตรต ( KNO 3 ) และโพแทสเซียมแมกนีเซียมซัลเฟต ( K 2SO 4.2MgSO 4  )
1.ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ ผลิตได้จากแร่ซิลวาไนต์ มาบดให้ละเอียดแล้วทำให้บริสุทธิ์ โดยละลายแร่ในน้ำอุณหภูมิประมาณ 90 เติมสารละลาย   NaCl ที่อิ่มตัวลงไป กรองแยกโคลนและตะกอนออก ระเหยน้ำเพื่อให้สารละลายมีความเข้มข้นมากขึ้นจนทำให้ KCl ตกผลึก แยกผลึกออกแล้วอบให้แห้ง จะได้ปุ๋ย KCl ตามต้องการ นอกจากนี้ ยังสามารถผลิตปุ๋ยชนิดนี้จากน้ำทะเล โดยการระเหยน้ำทะเลด้วยความร้อนจากแสงอาทิตย์เพื่อให้มีความเข้มข้นสูงขึ้น เกลือ NaCl จะตกผลึกแยกออกมาก่อน นำสารละลายที่ได้ไประเหยน้ำออกเพื่อทำให้มีความเข้มข้นมากขึ้นทำให้ KCl ตกผลึก   ออกมาและใช้เป็นปุ๋ย KCl ได้
2.ส่วนปุ๋ยโพแทสซียมซัลเฟต ผลิตได้จากการนำแร่แลงไบไนต์ ( K 2SO 4.2MgSO 4  ) มาละลายในน้ำอุณหภูมิประมาณ 50 จนเป็นสารละลายอิ่มตัว แล้วเติมสารละลาย KCl เข้มข้นลงไป จะได้ผลึก K 2SO 4 แยกออกมาดังสมการ
3.นอกจากนี้ถ้านำ KCl มาทำปฏิกิริยากับ NaNO 3 จะได้ปุ๋ยโพแทสเซียมไนเตรต
(KNO 3 ) ดังสมการ
               โพแทสเซียมเป็นธาตุอาหารหลักที่จำเป็นต่อพืชมาก ทำให้ผนังเซลล์ของพืชหนาขึ้น สร้างภูมิต้านทานโรค และเป็นตัวเร่งให้เซลล์ทำงานได้ดีขึ้น ถ้าพืชขาดโพแทสเซียมจะทำให้มีปริมาณแป้งต่ำกว่าปกติ ผลผลิตน้อยลง ขอบใบมีสีซีด ลำต้นอ่อน แคระแกร็นและเมล็ดลีบ

ปุ๋ยฟอสเฟต

4.3 ปุ๋ยฟอสเฟต

เป็นปุ๋ยที่ให้ธาตุฟอสฟอรัสในรูปของสารประกอบฟอสเฟต ใช้หินฟอสเฟต(CaF2.3Ca3(PO4)2) เป็นวัตถุดิบการผลิตปุ๋ยฟอสเฟตทำได้ 3 วิธี





จากปฏิกิริยา ทั้งสาม จะพบว่าในส่วนประกอบหินฟอสเฟตจะมี CaF2  ซึ่งเมื่อทำปฏิกิริยากับกรดจะได้ HF ซึ่งระเหยง่ายและเป็นพิษบางส่วนจะทำปฏิกิริยากับ SiO2 เกิดเป็นแก๊ส SiF4ซึ่งรวมกับน้ำทันทีเกิดเป็น H2SiF6 หรืออาจนำ SiO2 มาทำปฏิกิริยากับ HFโดยตรงเกิดเป็น H2SiF6 และเมื่อนำมาทำปฏิกิริยาต่อกับ MgO จะได้แมกนีเซียมซิลิโกฟลูออไรด์ (MgSiF6) ใช้เป็นสารกำจัดแมลง
                HF ส่วนใหญ่จะระเหยกลายเป็นไอ จึงกำจัดโดยการผ่านแก๊ส ลงในน้ำทำให้ได้สารที่เป็นกรด ซึ่งทำให้เป็นกลางโดยทำปฏิกิริยากับโซดาแอชหรือหินปูน

ปุ๋ยไนโตรเจน

4.2 ปุ๋ยไนโตรเจน
เป็นปุ๋ยเคมีที่ให้ธาตุไนโตรเจนเป็นธาตุหลัก ซึ่งช่วยให้พืชเจริญเติบโตดี ลำต้น ใบ แข็งแรง สามารถสร้างโปรตีนได้อย่างเพียงพอ โดยส่วนใหญ่อยู่ในรูปของสารประกอบ เช่น
ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ((NH4 ) 2 SO4  ) เตรียมจากปฏิกิริยาระหว่างแก๊ส  NH3 กับ  H2 SO4 
ปุ๋ยยูเรีย ( NH2CO NH2 ) เตรียมจากปฏิกิริยาระหว่างแก๊ส  NH3 กับแก๊ส  CO2
ดังนั้น  การผลิตปุ๋ยทั้งสองชนิดใช้แก๊ส  NH3  H2SO4  และ แก๊ส  CO2 เป็นวัตถุดิบที่สำคัญ
วัตถุดิบที่ใช้เตรียมแก๊สแอมโมเนีย คือ ไนโตรเจน และ ไฮโดรเจน
  •  ไนโตรเจน เตรียมได้จากอากาศ โดยนำอากาศมาเพิ่มความดัน ลดอุณหภูมิให้กลายเป็นของเหลว แล้วเพิ่มอุณหภูมิถึงจุดเดือดของแก๊ส เพื่อแยกแก๊สไนโตรเจนออกจากอากาศ
  •  ไฮโดรเจน เตรียมจากแก๊สที่เหลือ(ออกซิเจนส่วนใหญ่) ทำปฏิกิริยากับแก๊สมีเทน หรือ ใช้ไอน้ำทำปฏิกิริยากับแก๊สมีเทน
การเตรียมแก๊สแอมโมเนีย นำแก๊ส N2 และ H2  ที่ผลิตได้มาทำปฏิกิริยากัน ได้แก๊ส  NH3
ดังนั้น  เมื่อนำแก๊ส  NH3  ทำปฏิกิริยากับแก๊ส CO2 จะได้ปุ๋ยยูเรีย ดังสมการ
 

อุตสาหกรรมปุ๋ย

4 อุตสาหกรรมปุ๋ย
การนำปุ๋ยมาใช้ในการเกษตรเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรให้สูงขึ้น  ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ
ปุ๋ย  หมายถึง  สารที่ใส่ลงในดินเพื่อให้ปลดปล่อยธาตุอาหารแก่พืช  โดยเฉพาะธาตุไนโตรเจน  ฟอสฟอรัส  และโพแทสเซียม  มี  2  ประเภทคือ
1.  ปุ๋ยอินทรีย์     เป็นปุ๋ยธรรมชาติที่ได้จากการเน่าเปื่อยผุพังของซากสิ่งมีชีวิต  ได้แก่  ปุ๋ยคอก  ปุ๋ยหมัก  ปุ๋ยพืชสด  ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ  และวัสดุเหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิด  เมื่อใส่ในดินซากสิ่งมีชีวิตจะค่อยๆสลายตัวและปล่อยธาตุอาหารออกมาให้พืช     แต่มีข้อเสียคือ  มีธาตุอาหารน้อยรวมทั้งมีปริมาณและสัดส่วนไม่แน่นอน
2.  ปุ๋ยเคมี  หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์     เป็นปุ๋ยที่ได้จากการผลิตหรือสังเคราะห์จากแร่ธาตุต่างๆ  หรือเป็นผลพลอยได้จากโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิด  ซึ่งจะมีธาตุอาหารหลักที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช  ได้แก่  ธาตุไนโตรเจน  ฟอสฟอรัส  และโพแทสเซียม  สามารถปลดปล่อยให้แก่พืชได้ง่ายและเร็ว  มี  2  ประเภทคือ
                2.1  ปุ๋ยเดี่ยวหรือแม่ปุ๋ย     เป็นสารประกอบที่มีธาตุอาหารของพืชอยู่หนึ่งหรือสองธาตุ  และมีปริมาณธาตุอาหารคงที่  เช่น  ปุ๋ยยูเรีย  และปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต
                2.2  ปุ๋ยผสม         เป็นปุ๋ยที่ได้จากการนำปุ๋ยเดี่ยวแต่ละชนิดมาผสมกันเพื่อให้ได้สัดส่วนของธาตุอาหาร  N  P  และ  K  ตามต้องการ  เช่น  ปุ๋ยสูตร  10  :  15  :  20  ประกอบด้วย N  10  ส่วน  P  15  ส่วน  K  20  ส่วน  และมีตัวเติมอีก  55  ส่วน  ให้ครบ  100  ส่วน
                นอกจากนี้  ปุ๋ยวิทยาศาสตร์บางชนิดอาจมีธาตุอาหารของพืชที่มีความสำคัญในลำดับรอง  ซึ่งพืชต้องการในปริมาณน้อย  ได้แก่  ธาตุแคลเซียม  กำมะถัน  แมกนีเซียม  เหล็ก  สังกะสี  แมงกานีส  และทองแดง  ผสมอยู่ด้วย 
 

วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การผลิตสารฟอกขาว

3.4 การผลิตสารฟอกขาว

สารฟอกขาวเป็นสารประกอบประเภทไฮโปคลอไรต์  ใช้ในอุตสาหกรรมการฟอกย้อมเส้นด้าย เยื่อกระดาษ และใช้เป็นสารฆ่าเชื้อโรคในน้ำ การผลิตสารฟอกขาวมีวิธีการดังนี้











เมื่อหยดสารละลายในหลอดทดลองบนกระดาษลิตมัสทั้งสีแดงและสีน้ำเงิน พบว่ากระดาษลิตมัสทั้ง2สีเปลี่ยนเป็นสีขาว แสดงว่า สารละลายNaOClมีสมบัติในการฟอกจางสี สารนี้มีสมบัติในการกัดกร่อนสูง ถ้าใช้ปริมาณมากอาจกัดกร่อนสิ่งที่ต้องการฟอกเสียหายได้

การผลิตโซดาแอช

3.3 การผลิตโซดาแอช
ชื่อทางเคมีโซดาแอช                          : โซเดียมคาร์บอเนต (Na2CO3)
กระบวนการผลิตโซดาแอช               : กระบวนการโซลเวย์ หรือกระบวนการโซดาแอมโมเนีย
วัตถุดิบ                                                   : 1.โซเดียมคลอไรด์ (NaCl)
                                                                    2. แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3)
                                                                    3. แก๊สแอมโมเนีย (NH3)
ขั้นตอนการผลิต :
1. นำ CaCO3 (s) มาเผา ได้ CaO (s) และ CO2 (g)
2. นำ CO2 (g) ไปทำปฏิกิริยากับ NaCl  (aq) เข้มข้น และ NH3  (g) ได้  NaHCO3 (s)  และ NH4Cl (aq)
3. กรองแยก NaHCO3 (s) ออก แล้วนำไปเผา ได้ Na2CO3 (s) หรือโซดาแอช
ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นแล้วนำกลับมาใช้ได้อีก :
CO2 (g) จากการเผา NaHCO3 (s) และ CaO (s)จากการเผา CaCO3 (s) เมื่อนำมาละลายน้ำ จะได้       
Ca(OH)2 (aq)   และเมื่อ Ca(OH)2 (aq)   ทำปฏิกิริยากับ NH4Cl (aq) จะได้
NH3  (g) กลับมาใช้ในขึ้นตอนที่ 2 อีกครั้ง  และเกิด
CaCl2(s) นำไปใช้เป็นใช้เป็นสารดูดความชื้น แต่มีการนำไปใช้น้อย จึงเกิดปัญหาในการกำจัด
NaHCO3 (s)  ทำผงฟู
NH4Cl (aq)  ทำปุ๋ยเคมี
เพิ่มเติม  :
  •  บางประเทศที่ผลิต NaOH ได้มากเกินต้องการ อาจผลิตโซดาแอช โดยผ่าน CO2 (g) ลงใน
 NaOH (aq) โดยตรง ได้ NaHCO3 (s) เมื่อเผาแล้วจะได้โซดาแอช
  •  นอกจากการผลิตด้วยกระบวนการโซลเวย์ ยังได้จากแร่โซดาแอชในธรรมชาติ พบมากใน สหรัฐอเมริกา แคนาดา บราซิล อินเดีย รัสเซีย จีน

การผลิต NaOH โดยใช้ cell เยื่อแลกเปลี่ยนไอออน

3.2.1 การผลิต NaOH โดยใช้ cell เยื่อแลกเปลี่ยนไอออน

cell เยื่อแลกเปลี่ยน ion จัดเป็น cell อิเล็กโทรไลต์  ขั้ว Anode ทำด้วยไทเทเนียม  ขั้ว Cathode ทำจากเหล็ก  โดยมีเยื่อแลกเปลี่ยนไอออนที่ยอมให้เฉพาะไอออนบวกผ่านได้กั้น  เมื่อสารละลาย NaCl ที่บริสุทธิ์และอิ่มตัว เข้าทางด้าน Anode  และผ่านกระแสไฟฟ้าลงไป
การผลิต NaOH โดยใช้ไดอะแฟรม
มีลักษณะคล้าย cell เยื่อแลกเปลี่ยน ion แต่ต่างกันที่แผ่นกั้นระหว่าง Anode กับ Cathode ยอมให้ทั้ง ion บวก และ ion ลบ ผ่านได้  ซึ่ง Cl- ที่เกิดปฏิกิริยาไม่หมดจะเคลื่อนที่มาทาง Cathode รวมกับ Na+ เป็น NaCl
             สารละลาย NaOH ที่ได้จึงมี NaCl ปนในปริมาณมาก


การแยกสารละลาย NaCl ด้วยกระแสไฟฟ้า ได้ผลิตภัณฑ์ คือ H2 (g) , Cl2 (g) , NaOH (aq)  โดยนำไปใช้ประโยชน์  ดังนี้
H2 (g)                    ทำ   1.    เตรียมกรด HCl
2.    เตรียม NH3 (g)
3.    ใช้ในปฏิกิริยาการเติม H2 ในน้ำมันพืช
Cl2 (g)                   ทำ   1.    ฆ่าเชื้อโรคในน้ำประปา
2.    ฟอกสีในเยื่อกระดาษ เส้นใยพืช
3.    เป็นวัตถุดิบในการผลิตสารเคมี เช่น พลาสติก สารกำจัดแมลง สารฟอกขาว CCl4
4.   รวมกับแก๊สไฮโดรเจน เป็นกรด HCl
NaOH (aq)          ทำ   1.    สบู่ , ผงซักฟอก
2.    ผงชูรส
3.    ทำกระดาษ
4.    ผลิตโซดาแอช

อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับโซเดียมคลอไรด์

3 อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับโซเดียมคลอไรด์
  • โซเดียมคลอไรด์ใช้ประโยชน์ใน
                - อุตสาหกรรมเคมี
                - อุตสาหกรรมอาหาร
                - การบริโภคในครัวเรือน
      วิธีการผลิตโซเดียมคลอไรด์
        1.     การผลิตเกลือสมุทรจากน้ำทะเล
                E เริ่มทำช่วงเดือน พฤศจิกายน พฤษภาคม เรียก ฤดูทำนาเกลือ
                E วิธีการผลิต
                    1 .ระบายน้ำทะเลเข้าสู่วังขังน้ำเพื่อให้โคลนตมตกตะกอน
                    2. ระบายน้ำทะเลเข้าสู่นาตากและนาเชื้อ ที่จัดระดับพื้นที่นาให้ลดหลั่นลงมาเพื่อสะดวกในการขังและระบายน้ำ
                    3. เมื่อน้ำโดนความร้อนและลมจะระเหย จนเมื่อน้ำทะเลเหลือความถ่วงจำเพาะ 1.2 ให้ระบายสู่นาปลง
                    4. NaCl จะตกผลึกและมีปริมาณเพิ่มขึ้น
                        - น้ำทะเลที่เหลือจะมีความเข้มข้นของ Mg2+, Cl-, SO42- เพิ่ม ต้องระบายน้ำจากนาเชื้อเข้าไปเพื่อป้องกันไม่ให้ MgCl2 MgSO4 ตกผลึกปนกับ NaCl
                E ผลผลิตที่ได้
                        - ได้ผลผลิต 2.5 6  กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1  ตารางเมตร
                        - ได้กุ้ง หอย ปู ปลาที่ติดมากับน้ำทะเล
                        - CaSO4 ในนาเชื้อ
        2.     การผลิตเกลือสินเธาว์
                E วัตถุดิบ
                        - แหล่งเกลือบนผิวดิน
                        - น้ำเกลือบาดาล
                        - แร่เกลือหิน หรือ แร่เฮไลต์ (พบมากแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
                E วิธีการผลิต
                        วิธีที่ 1
                        -  เทคโนโลยีแบบชาวบ้าน
                        - การผลิต
                        1. อัดอากาศลงไปตามท่อ เพื่อดันน้ำเกลือที่ละลายอยู่เหนือชั้นเกลือ/ ชั้นโดมเกลือขึ้นมา
                        2.  นำน้ำเกลือที่ได้ไปตากในนาเกลือ หรือต้มให้เกลือตกตะกอน
                        -  ผลกระทบ
                                - เกิดการยุบตัวของดินและน้ำในแหล่งน้ำ รั่วหายไปในโพรงเกลือ
                                - เกิดการปนเปื้อนของเกลือบนพื้นดินและแหล่งน้ำ
การผลิตเกลือสินเธาาว์
                ในประเทศไทยมีการผลิตเกลือสินเธาว์ 3 วิธี ดังนี้
วิธีที่ 1
                ใช้เทคโนโลยีแบบชาวบ้าน โดยการอัดอากาศลงไปตามท่อ เพื่อดันน้ำเกลือที่ละลายอยู่ชั้นเกลือหรือชั้นโดมเกลือขึ้นมา แล้วนำเกลือที่ได้ไปตากในนาเกลือหรือต้มให้ตกตะกอน วิธีนี้ก่อให้เกิดปัญหาที่สำคัญคือ ทำให้เกิดการยุบตัวของดินและน้ำในแหล่งน้ำรั่วหายไปในโพรงเกลือ ตลอดจนทำให้เกิดการปนเปื้อนของเกลือบนพื้นดินและแหล่งน้ำ
วิธีที่ 2
                เป็นการทำแบบเหมืองละลายแร่ โดยอัดน้ำลงไปละลายเกลือแล้วสูบขึ้นมา แล้วนำไปตากในนาเกลือหรือนำไปต้มด้วยวิธีลดความดัน การสูบสารละลายเกลือทำให้เกิดปัญหาแผ่นดินทรุด ดังนั้นต้องทำเหมืองละลายเกลือลึกจากผิวดินประมาณ 200 เมตร และนำเกลือออกมาจากพื้นที่ได้ประมาณร้อยละ 10-15 เท่านั้น เมื่อสูบน้ำเกลือออกมาแล้วต้องมีการอัดน้ำขมกลับลงไปในชั้นน้ำเกลือใต้ดิน เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และมีการตรวจวัดรูปร่างของบ่อเกลือเป็นระยะ
วิธีที่ 3
                เป็นการทำเหมืองใต้ดิน โดยขุดอุโมงค์ในแนวนอนลงไปในชั้นเกลือแล้วทำการเจาะหรือระเบิดน้ำเกลือขึ้นมา จากนั้นนำน้ำขมใส่กลับไปไว้ในอุโมงค์เช่นเดิม
               
                น้ำเกลือที่ได้นำมาผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์ จากนั้นนำน้ำเกลือบริสุทธิ์ไปต้มเคี่ยวจนได้ผลึกเกลือ แล้วนำไปอบแห้งและบรรจุถุง
                ในเกลือสินเธาว์จะมีปริมาณไอโอดีนน้อย ดังนั้นถ้าจะนำมาบริโภคควรเติม 
ไอโอไดด์หรือไอโอเดตลงไป เรียกว่าเกลืออนามัยหรือเกลือไอโอเดต
สรุป เรื่องการผลิตโซเดียมไฮดรอกไซด์และแก๊สคลอรีน
การผลิตโซเดียมไฮดรอกไซด์และแก๊สคลอรีน อาจได้จากโซเดียมคลอไรด์ โดยอาศัยหลักการของเซลล์อิเล็กโทรไลต์
หลังจากการทดลองแยกสารละลายด้วยกระแสไฟฟ้า โดยใช้สารละลาย NaCl อิ่มตัว เป็นสารละลายอิเล็กโทรไลต์ แตกตัวได้ดังนี้ :
NaCl (aq)                                                     Na+ (aq)  +  Cl- (aq)
เมื่อผ่านกระแสไฟฟ้าลงไป จะเกิดปฏิกิริยา ดังนี้
ที่เอโนด (+)  :                       2 Cl- (aq)                                                  Cl2 (g)  +  2 e-
โดยแก็สคลอรีนทดสอบด้วยกระดาษลิตมัสสีแดง และสีน้ำเงินชื้น จะเปลี่ยนเป็นสีขาว เพราะ Cl2 (g) ทำปฏิกิริยากับ H2O ได้ HCl , HClO ซึ่งฟอกจางสี
ที่แคโทด (-)  :               2 H2O (l)  +  2 e-                                            2 OH- (aq)  +  H2 (g)
โดยแก็สไฮโดรเจนใช้ก้านธูปที่มีเปลวไฟไปจ่อที่ขั้วลบของแบตเตอรี่  ไฟจะดับพร้อมเกิดเสียงดังเป๊าะ  และ OH- (aq) จะมีสมบัติเป็นเบส จึงทดสอบได้เมื่อหยดสารละลายฟีนอฟทาลีน ในสารละลายจะสังเกตเห็นสีชมพูบริเวณขั้วลบของแบตเตอรี่ แสดงว่ามี OH- (aq) เกิดขึ้นนั่นเอง
ปฏิกิริยารวม :
2 Cl- (aq)  +  2 H2O (l)                                            2 OH- (aq)  +  H2 (g)  +  Cl2 (g)
สารละลายที่เหลือจากการแยกสารละลายด้วยกระแสไฟฟ้าจะมีโซเดียมไฮดรอกไซด์ NaOH จาก   
Na+ (aq)  +  OH- (aq)                                             NaOH (aq)
ดังนั้น เมื่อนำสารละลายไประเหยจะพบโซเดียมไฮดรอกไซด์ ซึ่งเป็นสารสีขาวเหลืออยู่
ในการผลิต NaOH ในอุตสาหกรรมนั้น จะใช้อุปกรณ์ที่ซับซ้อน โดยผ่าน NaCl (aq) อิ่มตัว เข้าไปในเซลล์อิเล็กโทรไลต์ตลอดเวลา  H2 (g) , Cl2 (g) และ NaOH (aq) ที่เกิดขึ้นจะต้องแยกออกจากกัน เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสาร